วิธีไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ 2566
วิธีบูชาเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย
ตั้งโต๊ะบูชาตามทิศการบูชาที่เชื่อกันว่าไฉ่ซิงเอี้ยจะเสด็จลงมาโปรดมนุษย์ ซึ่งทิศดังกล่าวจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี
อัญเชิญ รูปองค์เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ยจำลอง หรือจะเป็นอักษรจีน คำว่า ไฉ่ซิงเอี้ย และ ฮี่ซิ้งเอี๊ย หรือ ฮัวฮี่ ไว้ที่โต๊ะบูชา พร้อมด้วยกระถางธูป และเทียนแดง
เริ่มบูชาในช่วงเวลา 23:00-01:00 น. โดยทำการบูชาที่ดาดฟ้าบ้านหรือหลังคาบ้าน หรือระเบียงบ้านชั้นสองหรือสาม หรือหน้าบ้านก็ได้
นำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเงินทอง เช่น กระเป๋าสตางค์ สมุดบัญชีธนาคาร เช็ค สลากออมสิน มาตั้งวางไว้ด้วย
จุดธูปเทียนบูชาและไหว้ขอพร (ไม่ควรให้คนที่ชงในปีนั้น ๆ ไหว้คนแรก)
ผู้นำพิธีนำของไหว้ที่เป็นกระดาษทั้งหมด เผารวมกับเทียบเชิญแดงและสีเขียว
เมื่อธูปที่ใช้บูชาใกล้มอดให้รีบนำเข้าบ้าน และปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อให้ควันธูปที่เหลือนั้นตลบอบอวลอยู่ภายในบ้าน เชื่อว่าเป็นการอัญเชิญไฉ่ซิงเอี้ยเข้ามาประทับในบ้าน แต่เพื่อสุขภาพที่ดี ไม่ควรให้ควันมากเกินไป และควรเลือกธูปที่ไร้สารเคมีอันตราย
รับประทานสาคูและพูดจาแต่ถ้อยคำดี ๆ กับคนในครอบครัวเพื่อความเป็นสิริมงคล
การจัดโต๊ะไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย
ฤกษ์การไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย คือเวลา 23:00 – 1:00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่เทพเจ้าเสด็จลงมาประทานพรความร่ำรวย โชคลาภให้แก่ผู้นับถือเซ่นไหว้ ในแต่ละปีเทพไฉ่ซิงเอี๊ยจะเสด็จลงมาในทิศที่แตกต่างกันออกไป และมักจะเสด็จมาในวันตรุษจีนแค่ปีละครั้ง ใครอยากกราบไหว้บูชา ห้ามพลาดช่วงเวลานี้เด็ดขาด โดยจะมีวิธีการจัดโต๊ะไหว้ การเตรียมของไหว้ ดังต่อไปนี้
เตรียมของไหว้ไฉ่ชิงเอี๊ย
รูปหรือรูปปั้นเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยสำหรับกราบไหว้
ชุดเพ้าขององค์ไฉ่ซิงเอี๊ย
แจกันดอกไม้สด 1 คู่
เทียนแดงก้านไม้แบบจีน 1 คู่ พร้อมเชิงเทียน
เทียบเชิญสีแดง และเทียบเชิญสีเขียว
กระถางธูป
ธูปสำหรับไหว้ (จุดธูป 3 5 9 หรือ 12 ดอกก็ได้)
น้ำชา 5 ถ้วย
ขนมอี๊ (สาคูสีแดง) 5 ถ้วย หรือข้าวสวย 5 ถ้วย
ซาแซ (เนื้อสัตว์สามชนิด) หมูสามชั้นต้ม ไก่ต้ม และเป็ดต้ม
ขนมจันอับ หรือขนมจับกิ้ม หรือแต้เหลี้ยว
ผลไม้มงคล 5 อย่าง เช่น ส้ม แอปเปิ้ลแดง องุ่นแดง กล้วยหอมทอง สับปะรด ฯลฯ
เจไฉ่ หรือของเจ 5 อย่าง เช่น ดอกไม้จีน ฟองเต้าหู้ วุ้นเส้น เห็ดหอม เห็ดหูหนู
ชุดกระดาษไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย ประกอบด้วย หงิ่งเตี๋ย 12 ชุด กิมหงิ่งเต้า 1 คู่ เทียงเถ้าจี๊ 1 ชุด เทียบเชิญแดง 1 แผ่น กระดาษสีเขียว 1 แผ่น (เทียบเชิญสีเขียว)
คาถาบูชาเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยในวันตรุษจีน
จุดธูป 3 ดอก 5 ดอก 9 ดอก หรือ 12 ดอกก็ได้
จุดเทียบแดง 1 คู่ที่เตรียมไว้
ก่อนจะไหว้ควรตั้งมั่นให้สติสงบนิ่ง นึกถึงแต่ความดีและศรัทธาก่อน กล่าวคำสวดบูชาดังนี้ “นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” (3 จบ) จากนั้นสวดบทสักการะว่า “โอม ชัมภาลา จาเลนไน เยโซฮา” (สวด 3 จบ 5 จบ 9 จบ หรือ 12 จบก็ได้)
กล่าวชื่อและนามสกุลของตัวเอง และเรื่องที่จะขอพร (ไม่ควรขอหลายสิ่ง ให้ตั้งใจขอพรในสิ่งที่อยากได้จริงๆ เป็นหลัก) และถือกระเป๋าสตางค์เอาไว้ด้วย เพื่อเรียกเงินทองและโชคลาภมาสู่กระเป๋า
“ข้าพเจ้า ชื่อ … ขออัญเชิญองค์ไฉ่ซิงเอี้ย ผู้ศักดิ๋สิทธิ์และมั่นคั่งร่ำรวย เสด็จมารับเครื่องเซ่นไหว้ เมื่อรับแล้วได้โปรดประทับที่ (บ้านเลขที่ตนเอง) ทั้งข้าพเจ้าได้จัดเตรียมพื้นที่มงคลภายในบ้าน เมื่อข้าพเจ้าขอทำพิธีถวายส่งเครื่องสักการะบูชาเรียบร้อยแล้ว ขอเชิญท่านเสด็จเข้าไปประทับในบ้านของข้าพเจ้าด้วยเถิด”
นำกระดาษเงินกระดาษทองไปเผาถวายส่งเครื่องสักการะ
เมื่อธูปเริ่มมอดก็ถึงเวลาอัญเชิญเทพเจ้าเข้าบ้าน
ผู้ใหญ่ผู้อาวุโสใช้ 2 มือยกกระถางธูปขึ้นตั้งบนบ่าด้านขวา
สมาชิกคนอื่นๆ ถือรูปปั้น เทียนแดง (ที่ยังไม่ดับ) นำไปบริเวณหิ้งหรือสถานที่ ที่จัดเตรียมไว้
เป็นการเชิญเทพเข้าบ้าน จากนั้นควรปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อให้ควันธูปอบอวลอยู่ในบ้าน เชื่อว่าเป็นการเก็บพลังของธูป (ควรใช้ธูปไร้สารเคมี เพื่อลดอันตรายของคนในครอบครัว)
“ข้าพเจ้าได้จัดเตรียมพื้นที่มงคลภายในบ้าน เมื่อข้าพเจ้าขอทำพิธีถวายส่งเครื่องสักการะบูชาเรียบร้อยแล้ว ขอเชิญท่านเสด็จเข้าไปประทับในบ้านของข้าพเจ้าด้วยเถิด ได้โปรดดลบันดาลประทานพรให้ตลอด 365 วัน 12 เดือน 4 ฤดู 1 ปี ของข้าพเจ้าและครอบครัว มีแต่ความร่ำรวยร่มเย็นเป็นสุข”
หลังจากนั้นนำของไหว้ซึ่งถือเป็นของมงคล ไปแบ่งกันรับประทานในครอบครัว อย่านำไปทิ้ง
คาถาบูชาเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย แต่ละปีนักษัตร
โดยแต่ละปีนักษัตรจะมีคาถาไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ยที่แตกต่างกันออกไป แต่ก่อนที่จะท่องคาถาเหล่านี้ออกไป ท่านต้องตั้งใจให้สงบนิ่ง นึกถึงแต่ความดี แล้วผลลัพธ์ที่ดีจะกลับมาเข้าสู่ตัวท่านนั่นเอง
ปีขาล เถาะ
โอม อา ฮูโฮฮัม กษะสะ โอม ชัมภาลา ลาจาเลน ไนเยน สวาหะ
ปีฉลู มะโรง มะแม จอ
โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ
ปีมะเส็ง มะเมีย
โอม ชัมภาลา จาเลนไนเยน ธะนัม เมธิ หะรี ทากินี ชัมภาลา สะมะภารา สวาหะ
ปี วอก ระกา
โอม ปัทมะ โกรธะ อรยะ ชัมภาลา หฤทัย หู ผะฏะ
ปีกุน ชวด
โอม ชัมภะละ ชะเลนทะรา เย สวาหา โอม อินทะระ ฌิมขัม ภะระมิ สวาหา